วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อุบัติเหตุ...เรื่องที่ไม่อยากประสบ พบเจอ หรือได้ยิน (VDO clip)

เพิ่งเขียนเรื่องเกี่ยวกับประกันอุบัติเหตุไปหยกๆ แต่หลังจากนั้นไม่นาน ก็ต้องสูญเสียพี่ที่เคารพ เป็นผู้มีความสามารถและมีชื่อเสียงในวงการมอเตอร์ไซด์ใหญ่ไปอย่างน่าตกใจยิ่ง

อุบัติเหตุ...เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะมันจะมาควบคู่กับความสูญเสียเสมอๆ เบาะๆ ก็แค่เจ็บตัวเล็กๆ น้อย หรือสูญเสียทรัพย์สินหน่อยๆ พอขำๆ แต่ถ้าร้ายแรงที่สุดก็คือการเสียชีวิต และทรัพย์สินมหาศาล

สิ่งเดียวที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ ความประมาท


อุบัติเหตุหลายๆ ครั้งเกิดจากเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง เช่น ความเสียหายของยานพหะนะที่เกิดขึ้นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุนี้ก็ตาม เราก็ยังสามารถลดอัตราการเกิดได้ ด้วยการหมั่นตรวจเช็คสภาพรถให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดก่อนออกเดินทางทุกครั้ง เพราะการนำรถที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน ก็เป็นการเดิมพันต่อชีวิต อาจจะเกิดเหตุการณืไม่คาดฝันได้เสมอ ซึ่งก็จัดเป็นความประมาทต่อตนเองและผู้ร่วมใช้รถใช้ถนนด้วยเช่นกัน

การขับขี่ในสภาพวะที่ร่างกายไม่เอื้ออำนวย เช่น ง่วงนอน ไม่สบาย หรือจะเป็นการดื่มแอลกอฮอล์ หรือแม้กระทั่งสภาวะที่อารมณ์ผิดปรกติ เช่น โกรธ หรือ เศร้า จัดเป็นความประมาทในรูปแบบหนึ่งอีกเช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เราสติสัมปชัญญะในการตัดสินใจลดลง แม้เพียงเสี้ยววินาทีเดียว...อุบัติเหตุก็เกิดขึ้นได้

ที่เหลือ...ความคึกคะนอง มักง่าย มักเป็นสาเหตุตามมาที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ

นำ VDO Clip จำลองเหตุการณ์อุบัติเหตุในรูปแบบต่างๆ มาให้ได้ดูกัน ไว้เป็นอุทาหรณ์ค่ะ



รวมโฆษณารณรงค์การขับขี่ปลอดภัยหลายๆ ตัวอีกทีค่ะ



รวมโฆษณารณรงค์การขับขี่ปลอดภัยหลายๆ ตัว บางส่วนจากข้างบน บางอันก็ใหม่ค่ะ และภาพจากเหตุการณ์จริงๆ มาให้ดูด้วย เสียวกว่าข้างบนอีก



สำหรับผู้ขับรถโดยตรง เมื่อเห็นมอเตอร์ไซด์ อย่าชะล่าใจนะคะ
ว่าเป็นมอเตอร์ไซด์ ไงๆ ก็น่าจะช้า มันอาจไม่เป็นอย่างที่คุณคิด



ลองมาดูกันว่า ความเร็วที่ต่างกันเพียงน้อยนิดในสายตาเรา สร้างความเสียหายแตกต่างกันได้มากแค่ไหน



พรุ่งนี้อะไรๆ อาจไม่เหมือนเดิม



เรามาดูกันว่าถ้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เมื่อรถเกิดอบัติเหตุ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง



จริงๆ แล้ว แม้แต่คนนั่งหลังก็ควรคาดเข็มขัดนิรภัย



สำหรับคนใจร้อน ที่ค่อยสนใจสัญญาณกั้นเวลารถไฟมา ดูซะว่าถ้ารถไฟมาเต็มแรง จะลากไปไกลขนาดไหน ไงๆ ก็ไม่เหลือซาก



การใช้ความเร็วไม่ใช่เรื่องผิด แต่ควรใช้ให้ถูกที่ จุดที่จำกัดความเร็ว หรือ แหล่งชุมชน ควรทำตามที่กฏหมายกำหนด



เหมือนอันข้างบน เพลงเดียวกัน (เพราะดี ความหมายดีอีกด้วย) แต่ตัดต่อคนละแบบ ให้คนละรมณ์ ภาพชัดกว่า เลยเอามาแปะไว้อีก


Blog นี้ ขออุทิศแด่ คุณชุมพล วัฒนาหาญนุวัฒน์ หรือ อาจารย์ชุม ซึ่งเป็นผู้ที่พยายามรณรงค์และจัดการฝึกสอนเทคนิกการขับขี่มอเตอร์ไซด์ใหญ่ เพื่อการนำไปใช้ขับขี่มอเตอร์ไซด์ใหญ่ได้อย่างปลอดภัยอย่างปลอดภัย ให้แก่นักขับขี่มอเตอร์ไซด์มาเป็นเวลากว่าสิบปี ได้ประสบอุบัติเหตุจากมอเตอร์ไซด์ใหญ่ และเสียชีวิตในที่เกิดเหตุเมื่อวันศุกร์ที่ 2 กค. ที่ผ่านมาก R.I.P พี่จะอยู่ในใจพวกเราตลอดไปค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การขับขี่มอเตอร์ไซด์ กับอุบัติเหตุ... และการประกันภัย

การขับขี่มอเตอร์ไซด์ กับอุบัติเหตุดูจะเป็นของคู่กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไซด์ใหญ่ หรือ มอเตอร์ไซด์เล็ก



เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้ว ถ้าไม่เจ็บตัวก็ดีไป ถ้าเจ็บตัวหล่ะ ...อะไรจะช่วยให้คุณได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที และได้รับสิ่งที่ดีที่สุด

นั่นคือ...ประกันภัย

บางคนอาจจะเถียง... รถฉันมี พรบ.

ถูกต้องนะคะ...พรบ...คือประกันภัยเบื้องต้น ที่ข้อกฏหมายบังคับให้มี ฉะนั้น ค่ารักษาพยาบาลที่ได้จึงต่ำเตี้ยเรี่ยดิน

คุณจะได้แค่ 15,000 บาทขาดตัว ไม่มากไปกว่านี้

และที่สำคัญ ถ้าคุณไม่มีประกันอย่างอื่นเพิ่มเติม แม้จะมี พรบ. บ่อยครั้งคุณก็จะถูกโยนไปโยนมา หรือถูกโดนจนกว่าต้นสังกัดอื่นๆ จะมารับตัวไป เช่น ประกันสังคม หรือ ประกันสุขภาพแห่งชาติ (30 บาท รักษาทุกโรค)

ดังนั้น คุณจึงควรมีประกันอื่นๆ ร่วมไว้ให้อุ่นใจ เพราะ
1 เมื่อบาดเจ็บ ถ้าคุณมีประกันอื่นๆ โรงพยาบาลต่างๆ จะอ้าแขนรับคุณไว้อย่างเต็มใจในทันที
2 เมื่อบาดเจ็บมาก การที่คุณมีประกันหลายๆ อย่าง มันจะมาช่วยๆ กันจ่ายให้ ในกรณีเจ็บป่วยร้ายแรงที่มีค่าใช้จ่ายสูง ถ้าเจ็บหนักบิลค่ารักษาก็อาจจะสูงลิบลิ่วเสียจนวันที่จะออกจากโรงพยาบาล เราเอาจจะอยากฆ่าตัวตายแทนก็เป็นได้

แต่การทำประกันต่างๆ เหล่านี้ ควรศึกษาให้ดี ทั้งในแง่ของขอบเขตของการรับประกัน ว่าอุบัติเหตุจากการขี่มอเตอร์ไซด์นั้นอยู่ในเงื่อนไขหรือไม่ และรูปแบบอื่นๆ ที่แตกต่าง เพื่อไม่ให้เราเองต้องจ่ายเบี้ยประกันซ้ำซ้อนเสียไปโดยเปล่าประโยชน์เช่นกัน

มาดูรูปแบบของประกันภัยที่เราพึงมี
1 ประกันภัยรถยนต์ ซึ่งประเภทนี้จะมีได้ก็ต่อเมื่อเป็นรถมือหนึ่งที่ออกในประเทศ ประกันพวกนี้จะมีวงเงินเมื่อมีการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุอยู่แล้วส่วนหนึ่ง ใครเป็นรถก้อนรถเกรก็อดกันไป
2 ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) หรือจะเป็นประกันสขภาพพ่วงอุบัติเหตุ ไอ้ข้อนี้ศึกษากันให้ดีก่อนซื้อนะคะ มีแบบได้ปันผล หรือ จ่ายทิ้งรายปี อะไรแบบนี้ และรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ เช่น วงเงินคุ้มครองสูงสุด ในนั้นรวมอะไรบ้าง ค่าห้อง ค่ายา ค่าหมอ ค่าผ่าตัด ฯ

อันนี้เสริม
3 ประกันรายได้

งานด้านการแพทย์ แม้จะเป็นเรื่องของชีวิต แต่ทุกอย่างล้วนแล้วแต่มีค่าใช้จ่ายนะคะ เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องยอมรับ และข้อนี้เองที่ทำให้โรงพยาบาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลของเอกชนหรือรัฐบาลเอง ต่างก็ต้องพยายามที่จะบริหารงานเพื่อให้การดำเนินโรงพยาบาลเป็นไปได้อย่างอยู่รอด จึงไม่แปลกที่ความล่าช้ามักเกิดขึ้นจากการติดต่อสอบถามและต้องการสิ่งที่พิสูจน์ว่าว่าผู้ป่วยมีเงินพอที่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ไม่อย่างนั้น...ถ้าเขาให้การรักษาโดยไม่สามารถเก็บเงินได้เสียเป็นส่วนใหญ่ อีกไม่นานก็ต้องเจ๊งกันหมด

ดังนั้น...การมีประกันในรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้คุณได้รับความสะดวกสะบายและรวดเร็วมากขึ้น เมื่อต้องเข้ารับการรักษา

แต่...ถ้าผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บร้ายแรงและจะเสียชีวิตภายในเวลาอันสั้น ถ้าไม่ได้การช่วยเหลือ ไม่ว่าโรงพยาบาลไหนๆ ก็จะต้องให้การช่วยเหลือมากที่สุดเท่าที่โรงพยาบาลเหล่านั้นจะมีศักยภาพทำได้

ไม่อย่างนั้น...ผู้ป่วย หรือ ญาติ มีสิทธิ์ฟ้องร้องได้อยู่แล้วนะคะ ที่บอก...ไม่ได้ยุให้ฟ้อง แต่เขียนให้เห็นภาพว่า โดยจรรยาบรร...หมอก็ต้องทำอยู่แล้ว แต่นี่ยังมีกฏหมายมาค้ำคออีกด้วย ถ้าไม่มองว่าเป็นหมอ...ก็ไม่มีใครอยากติดคุก หรือ อยากเสียชื่อเสียงหรอกค่ะ

ข้อคิดฝากไว้ สำหรับนักบิดทั้งหลายนะคะ
เพื่อนๆ นักบิดที่เคยประสบอุบัติเหตุเสนอแนะมา
ทำให้ต้องมานั่งทบทวนเป็นการใหญ่ ว่าปัจจุบันมีประกันอะไรอยู่ในมือบ้าง
เผื่อถ้าเกิดเรื่องราวอะไรขึ้น จะได้ไม่เป็นภาระให้คนรอบตัวต้องเดือดร้อนยังไงคะ
จ่ายเพิ่มอีกปีละไม่กี่บาทเอง เทียบกับอย่างอื่นที่เคยจ่ายๆ แล้ว คุ้มกว่าเห็นๆ

ประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าเพื่อการขับขี่

หุหุ คนเขียนเป็นผู้หญิง เขียนเรื่องเกี่ยวกับมอเตอร์ไซด์ ก็เลยอยากยกเรื่องที่จะทำให้ผู้หญิงขับขี่ได้ดีขึ้น ปัจจุบันมีผู้หญิงมาขี่มอเตอร์ไซด์มาขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับข้อจำกัดหลายๆ ประการที่ทำให้ผู้หญิงที่เริ่มขี่มีปัญหา บางคนเริ่มจากศูนย์ แล้วยังต้องมาผจญกับความลำบากของการใช้รถใช้ถนนเสียอีก แต่อย่าท้อค่ะ ทุกอย่างพัฒนาได้จากการฝึกฝน

บทวามความดีๆ จาก www.stormclub.com

สำหรับบางคนมอเตอร์ไซค์คือยานพาหนะประจำวัน บางคนคืองานอดิเรก (แต่ถ้าเป็นชาวพายุขนานแท้หล่ะก็มอเตอร์ไซค์เป็นยิ่งกว่าสิ่งเสพติด ถ้าไม่ได้ขี่อาจมีอาการลงแดงได้) แต่จุดมุ่งหมายของทุกคนคือการเดินทางไปยังเป้าหมายอย่างปลอดภัย เรามาดูข้อคิด 5 ข้อที่จะช่วยให้เราขี่รถได้สนุกและปลอดภัยมากขึ้น

1. อย่าเชื่อใจรถคันอื่น
เรียนรู้ที่จะเชื่อใจคนๆเดียวเท่านั้นคือ ตัวเราเอง เพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อเห็นหรือจำเป็นต้องขับเข้าไปใกล้ๆ รถลักษณะดังต่อไปนี้ มีรอยบุบ รอยชน

ร่องรอยเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงการตัดสินใจที่”ผิดพลาด”ของผู้ ขับในอดีต ซึ่งเราคงไม่อยากเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจครั้งใหม่ของพี่เค้าแน่ๆ สกปรกและไม่ได้รับการเอาใจใส่

อันนี้ไม่ได้หมายถึงรถเก่า แต่โปรดจินตนาการถึงรถที่มีฝุ่นเกาะหนาๆ ประมาณว่าตั้งแต่ซื้อมาพี่แกยังไม่คิดจะล้าง ไม่สามารถระบุสีที่แท้จริงของรถได้ ไฟเลี้ยวแตก กระจกไม่ครบ ป้ายทะเบียนห้อย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความไม่เอาใจใส่ ซึ่งอาจส่งผลถึงพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ใส่ใจรถคันอื่นบนถนนด้วย (คิดดู รถตัวเองมันยังไม่ใส่ใจ แล้วเราอยู่ข้างๆ จะรอดมั๊ยเนี่ย…) เราควรเพิ่มความระวังและอยู่ห่างรถที่มีลักษณะเหล่านี้

นอกจากนี้รถบางชนิดยังสามารถเตือนให้เราระวังเป็นพิเศษเช่น รถ

รถแท็กซี่ : อย่าพยายามวิ่งอยู่ด้านซ้ายของเค้า เพราะแท๊กซี่ไม่มีป้ายจอดเหมือนรถเมล์ ฉะนั้นเมื่อใดที่เค้าเห็นคนยืนชะเง้อมองออกมาที่ถนน ทำท่ายกแขนออกนอกลำตัวเพียงนิดเดียว พี่แกหักเข้าหาทันทีโดยไม่สนว่าตอนนั้นรถตัวเองจะอยู่ในตำแหน่งใดของถนน!!! อีกอันนึงคือเวลารถติดแล้วเราชาวมอเตอร์ไซค์วิ่งเลาะบริเวณระหว่างเลน ก็ให้ระวังผู้โดยสารในรถแท๊กซี่จะเปิดประตูออกมาจ๊ะเอ๋เอา เดี๋ยวจะกลายเป็นซุเปอร์แมนแบบไม่รู้ตัว

รถกระบะหรือปิ๊กอัพ : อย่าแลกครับ เสี่ยงมาก เพราะส่วนใหญ่เป็นรถส่งของและคนขับไม่ใช่เจ้าของรถฉะนั้นพี่แกจะซัดไม่ เลี้ยง ขนาดของรถไม่ใช่ปัญหาสำหรับพวกเค้า มีรูเป็นมุด เห็นรถคันอื่นบนท้องถนนเป็นเสมือนกรวยยางเอาไว้วิ่งสลามลอม แล้วยิ่งปิ๊กอัพสมัยนี้เครื่องแรงมากวิ่ง 180 นี่หนมๆ ทางที่ดีให้พี่เค้าไปก่อนดีกว่า

รถแต่งเลียนแบบรถแข่ง : หลายคนแต่งเพื่อความสวยงาม แต่ก็หลายคนเหมือนกันที่แต่งแล้วเอาไว้ซิ่งบนถนนเพราะเข้าใจว่าตัวเองนาม สกุล ชูมักเกอร์ อันนี้ถ้าเราเจอเปิดทางให้พี่เค้าไปก่อนเลย เดี๋ยวเค้าก็ไปเจอกับไอ้ปิ๊กอัพคันเมื่อกี๊หน่ะแหละ...

รถ 4x4 ที่ยกสูง : นานๆจะเจอที แต่ถ้าเจอให้ห่างไว้จะดีกว่า เพราะลำพังรถยนต์ด้วยกันเค้ายังมองลงมาไม่ถนัดเลย แล้วถ้า 2 ล้ออย่างเราไปขี่หรือจอดอยู่ใกล้ๆ กลัวจะกลายเป็นลูกอมของเค้าไปหน่ะสิ

รถที่ขับโดยผู้หญิงและคนชรา :อันนี้ไม่ได้มีเจตนาจะดูถูกหรือโอ้อวดนะครับ แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีปัญหากับการตัดสินใจทำให้อาจมีอาการยึกยักในบาง จังหวะ ส่วนคนแก่นอกจากเรื่องการตัดสินใจแล้วยังมีเรื่องของสายตาที่มีประสิทธิภาพ น้อยกว่าปกติด้วย ฉะนั้นอย่าพยายามเดาใจเค้า ทิ้งระยะห่างให้ชัวร์หรือถ้ามีโอกาสก็แซงให้ผ่านไปซะ

รถมอเตอร์ไซค์ : พวกเราสองล้อด้วยกันเองนี่แหละ โดยเฉพาะบรรดา ”เด็กแว้น” , “เด็กแซ้บ” (มีชื่อเรียกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่) สังเกตได้จากการตกแต่งรถ เช่น ยางเล็ก, สวิงอาร์มสั้น, แฮนด์หมอบ, ท่อแต่ง ฯลฯ คงไม่ต้องบรรยายมากเป็นอันรู้กันสำหรับพฤติกรรมการขับขี่ ปล่อยน้องเค้าไปครับ อย่าไปวัดกะเค้า ผมหล่ะกลัวใจจริงๆ แต่ก็ใช่ว่าบรรดารถมอเตอร์ไซค์ใหญ่จะขี่ดีมีมารยาททุกคนนะครับ ไอ้ที่เปรี้ยวปริ๊ดส์ก็เยอะ ยังไงก็ให้เค้าผ่านไปก่อนละกัน ไม่เป็นไรเราไม่รีบ เดี๋ยวไฟแดงหน้าก็เจอกันอยู่ดี

จะเห็นได้ว่าเราไม่สามารถเชื่อใจรถคันอื่นบนถนนได้เลยนอกจากนี้เราควร เพิ่มความระมัดระวังในรถบางประเภทให้มากยิ่งขึ้น

2. ระวังจุดบอด
ข้อสำคัญที่สุดที่สมควรจำไว้คือ ถ้าเราไม่เห็นหน้าของคนขับในกระจกมองข้างหรือกระจกมองหลังของรถเก๋งคนขับรถ คันดังกล่าวก็จะไม่เห็นเราเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามการที่เราเห็นหน้าคนขับในกระจกรถก็ไม่ได้หมายความว่าคนขับดัง กล่าวจะมองเห็นเราเสมอไป

ถ้าเราพบว่าเราอยู่ในจุดบอด เราควรเร่งรถหรือใช้เบรคเพื่อออกจากตำแหน่งที่อันตรายให้เร็วที่สุด (เราควรใช้ความเร็วมากกว่าความเร็วของรถคันอื่นบนถนนเล็กน้อยเพื่อไม่ให้รถ เราไปแช่อยู่ในจุดบอด) เราควรเตือนตัวเองให้ระวังจุดบอดตลอดเวลา

3. รู้จักจังหวะในการขี่
จังหวะการขี่ที่เหมาะสมเป็นเรื่องที่สำคัญ บางคนมีความเชื่อว่าขี่รถช้าจะปลอดภัย ในขณะที่บางคนเชื่อว่าขี่รถเร็วจะปลอดภัย สิ่งที่จะบอกได้ว่าขี่ช้าหรือเร็วจะปลอดภัยกว่ากันคือ สภาพแวดล้อมในการขี่รถ เช่น การจราจร สภาพถนน สภาพอากาศ สภาพรถที่เราขี่อยู่ เป็นต้น

การที่จะขี่รถได้ปลอดภัยเราควรคำนึงถึงสิ่งรอบตัวเป็นหลัก รู้จักใช้จังหวะในการขี่รถที่เหมาะสม, ใช้ความเร็วที่เหมาะสม เช่น ขี่ช้าในเมืองที่มีสภาพการจราจรที่ติดขัด ขี่เร็วขึ้นเมื่อถนนโล่งแต่ไม่เร็วเกินความสามารถของเรา

ซึ่งในสถาพถนนปกติ การที่เราใช้ความเร็วมากกว่าสภาพการจราจรโดยรอบเล็กน้อยจะช่วยให้เราปลอดภัย กว่าการใช้ความเร็วเท่ากัน หรือ ช้ากว่า

นอกจากนี้เราสมควรที่จะมองหา “ทางออกฉุกเฉิน” เผื่อไว้ด้วยตลอดเวลา เช่น กรณีที่มีการเบรกกระทันหัน นอกจากเราจะต้องกะระยะและน้ำหนักกดเบรกแล้วเรายังต้องเผื่อหาพื้นที่ในการ หลบด้วย เพื่อกรณีที่เรากดเบรกตามแผนแล้วแต่ระยะทางไม่พอ จะได้ไม่ต้องใช้กันชนคันหน้าในการหยุดรถ

4. เผื่อที่ให้ความผิดพลาดของผู้อื่น
ความผิดพลาดของผู้อื่นในกรณีนี้หมายถึงผู้ร่วมใช้ถนนอื่นๆ เช่น เลี้ยวกระทันหันโดยไม่เปิดไฟเลี้ยว, จอดโดยไม่ให้สัญญาณ และอื่นๆอีกมากมาย การที่เราจะขี่รถได้อย่างปลอดภัยเราต้องเผื่อที่ให้ผู้อื่นได้ทำความผิดพลาด โดยที่ไม่กระทบกระเทือนเรา

ก่อนอื่นเราต้องยอมรับว่า “เราไม่สามารถแก้ไขความผิดพลาดของผู้อื่นได้” วิธีแก้ปัญหาคือเราต้องมองสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นให้ออก แล้วเว้นที่ว่างให้ความผิดนั้นเพื่อจะไม่กระทบกระเทือนเรา

การที่เราอารมณ์เสียกับความผิดของผู้อื่นไม่ได้ช่วยให้ปัญหาที่เกิดขึ้น หายไป ในทางตรงข้ามอาจเกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย

5. การฝึกฝน
เมื่อมีเหตุการฉุกเฉินเกิดขึ้นสิ่งแรกที่เราจะตอบสนองจะมาเกิดขึ้นโดย อัตโนมัติจากสัณชาตญานของเราเอง เช่น เมื่อมีรถเลี้ยวตัดหน้าอย่างกระชั้นชิด เราอาจจะเบรคจนล้อล๊อค หรือบีบทั้งเบรคและครัชในเวลาเดียวกัน จะเห็นได้ว่าบางครั้งสิ่งที่เราตอบสนองไปอาจไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้นแต่กลับช่วย ให้แย่ลง การที่เราจะแก้ปัญหาเวลาที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน คือการขยันซ้อมจนกลายเป็นนิสัย เช่น การฝึกเบรค, การฝึกเลี้ยวแบบ counter steering, การมองกระจกหลัง, การเหลียวมองรถด้านหลัง, การใช้ไฟเลี้ยว เป็นต้น

ควรฝึกสิ่งเหล่านี้ให้เป็นนิสัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเราจะใช้โดย อัตโนมัติ นอกจากนี้เราควรศึกษาเส้นทางที่เราจะต้องใช้, พื้นผิวถนน, ลักษณะการจราจร, ฯลฯ

การที่เราฝึกสิ่งเหล่านี้แม้ว่าจะไม่ได้ทำให้เราได้ถ้วยรางวัลในสนามแข่ง แต่จะช่วยให้เราปลอดภัยและยังทำให้เราขี่รถอย่างมีความสุขไปได้อีกนาน

เรื่อง : Tron
เรียบเรียง : Rider 11

_______________________________________________________

เขาเขียนไว้ดี แล้วก็ไม่รู้จะพยายามเขียนใหม่ทำไม ให้เครดิตคนเขียนคนแรกดีกว่า เขาจะได้มีกำลังใจเขียนเรืองอื่นเพิ่มอีก

ขอบคุณที่เขียนเรื่องดีๆ ให้เราได้อ่านกันนะคะ

ขออนุญาตินำมาลง blog ของตัวเองเพื่อรวบรวมเรื่องราวน่ารู้ที่เกี่ยวกับ 2 ล้อ ไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

เทคนิคการยกรถมอเตอร์ไซด์คันโต ^^

หมายเหตุ: เทคนิคต่างๆ ที่เขียนใน blog เป็นเนื้อหาที่รวบรวมมาจากเวปต่างๆ ที่อ่านผ่านตา หาใช่จากความสามารถของผู้เขียนไม่ หากมีข้อผิดพลาดหรือข้อเสนอแนะใดๆ ไม่ต้องเกรงใจ เขียน comment บอกไว้ได้เลยนะคะ จะได้แก้ไขหรือเพิ่มเติม เพื่อไปเป็นประโยชน์แก่นักขับขี่ด้วยกันนะคะ

ที่เลือกเขียนเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก เพราะเป็นสิ่งที่กังวลที่สุดเสมอๆ เวลาออกไปขี่รถ บางครั้งไปคนเดียว ยิ่งเวลากลับรถในที่แคบจะกลัวมาก รถล้มนอกจากจะอาย รถเป็นลอย แล้วที่สำคัญจะยกมันขึ้นมาได้อย่างไร มอเตอร์ไซด์ใหญ่แต่ละคัน น้ำหนักร่วม 200 กิโลกรัมทั้งนั้น หรืออาจจะมากกว่านั้น ในชีวิตการขี่ล้มแปะก็หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่เคยถึงกับต้องยกคนเดียวทุกครั้ง และก็ไม่ใจว่าจะยกขึ้นด้วย แต่ก็คิดว่าคงจะดีถ้าอย่างน้อยก็รู้ทฤษฎีไว้บ้างก็ยังดี และทดลองทำเพื่อหาวิธีที่เหมาะสมกันตัวคุณ ^^

การยกมอเตอร์ไซด์ที่ล้ม ถ้ายกไม่ถูกวิธี อาจเกิดอันตรายได้ เช่น เกิดการบาดเจ็บที่หลัง โปรดจำไว้ว่าการยกของหนัก ร่างกายควรอยู่ในสภาพที่พร้อม ไม่ควรฝืนสังขาร แม้ว่าจะอับอายเป็นทุนเดิมเพียงใดก็ตาม อย่าห้าว เวลายกรถให้ตัวและหลังตรงเสมอ แล้วยกโดยออกแรงจากขา ไม่ใช่จากแขน

วิธีการยกมอเตอร์ไซด์

อันดับแรก: ประเมินสภาพตัวเราเอง
- รถล้มปุ้บ ลงมาเก็บสติให้อยู่กับตัวก่อน ตรวจสอบร่างกายตัวเอง ว่าบาดเจ็บที่ไหนบ้างก่อนเป็นอันดับแรก สภาพพร้อมที่จะยกรถตัวเองได้หรือไม่ บางคนล้มปุ๊บ ด้วยความอาย อะดรีนาลีนหลังเต็มที่ พรวดพราดไปยกรถ หลังเดาะเคล็ดขัดยอกมาก็ไม่ใช่น้อย
- มองหาคนช่วยเป็นตัวเลือกแรกที่สมควรทำที่สุด และโปรดดูคนที่เข้ามาช่วย ถ้าไม่ใช่นักขับขี่เหมือนกัน ต้องช่วยดูความปลอดภัยเขาด้วย เช่น เตือนว่าอย่าจับตรงท่อไอเสียหรือเครื่องยนเป็นต้น เพราะคุณก็คงไม่อยากให้ใครเจ็บตัวเช่นกัน

อันดับที่ 2: ประเมินสภาวะแวดล้อม
- ถ้ารอบตัวไม่เอื้ออำนวยให้คุณยกรถได้ ก็ต้องรอความช่วยเหลือ อย่าเอาตัวเองไปเสี่ยงอันตราย เช่น ทางชัน สภาพแวดล้อมที่ลี่น (แปลจากเวปนอก ถ้าเป็นบ้านเราคงไม่มีใครยอม ของรักของแพง จะปล่อยไว้ได้ไง ^^ ก็อย่างว่าราคารถบ้านเราแพงหูฉี่)

อันดับที่ 3: ประเมินสภาพลูกรักของเรา เจ้ามอเตอร์ไซด์
- ดับเครื่อง, ปิดวาล์วน้ำมัน
- สำรวจการรั่วไหลของน้ำมัน ซึ่งมักเกิดขึ้นเสมอ และหลีกเลี่ยงการทำให้เกิดประกายไฟ

เทคนิคการยกรถมอเตอร์ไซด์

ถ้ารถล้มไปทางด้านขวา ให้เข้าเกียร์ไว้ เวลายกรถจะได้ไม่ไหล และเอาขาตั้งออกมา เวลายกเกินจะได้ไปแปะลงไปอีก แต่ถ้ารถล้มไปทางด้านซ้ายก็ต้องยกตามยถากรรมนิดนิง ^^

เทคนิคที่ 1 : รอคนมาช่วยยกค้าบที่น้องค้าบ (อะนะ จะบอกทำไม รู้อยู่แล้วใช่ใหม่คะ)

เทคนิคที่ 2 : ยกรถโดยหันหน้าออกจากมอเตอร์ไซด์


- อยู่ในฝั่งที่รถล้ม
- หักแฮนจนสุดลงด้านที่ล้ม (อันนี้งงนิดนึง เพราะส่วนใหญ่เราจะหักด้านตรงข้าม)
- หาจุดบาลานซ์ระหว่างสองล้อและเครื่องยนต์
- นั่งลง หันหน้าออกจากตัวรถ ใช้ก้นและหนังล่างแตะที่เบาะ ดันตัวขึ้นจนเกือบสุด โดยให้หลังอยู่ในท่าตรงเสมอเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
- มือหนึ่งจับที่แฮนด์กริบ เกร็งข้อมือ
- อีกมือหนึ่งจับที่เฟรมรถมอเตอร์ไซด์ในส่วนที่แข็งแรง (ระวังท่อไปเสีย หรือจุดที่ร้อน)
- ค่อยๆ ดันต่อไปทีละน้อยด้วยก้นหรือหลัง
- เมื่อรถลอยขึ้นมาในระดับหนึ่งให้รีบก้าวขาขยับตัวเข้าหารถ
- ใช้สะโพกประคองรับน้ำหนักรถแล้วดันรถตั้งขึ้นสู่จุดบาลานซ์





วิธีนี้แหละที่ผู้หญิงอย่างเราต้องการ

เข้าไปดูภาพสุภาพสตรียกรถคันโตได้ที่นี่เลยค่ะ www.ibmwr.org

เทคนิคที่ 3: หันหน้าเข้าหามอเตอร์ไซด์แล้วยก


- อยู่ในฝั่งที่รถล้ม
- หักแฮนด์ไปด้านตรงข้ามกับที่รถล้มให้สุด (ให้ล้อหงายชี้ฟ้า)
- หาจุดบาลานซ์ระหว่างยางทั้งสอ, เครื่องยนต์, ที่พักเท้า
- ยืนหันหน้าเข้าหารถ
- ยืนให้ใกล้แฮนที่สุด กางขาออกกล้างประมาณช่วงไหล่ นั่งยองๆ (หรือคุกเข่าลงหนึ่งข้าง นั่งลักษณะคล้ายคุกเข่าข้างนึงเพื่อใช้ขาที่คุกเข่าอยู่ข้างหลังออกแรงดันรถขึ้น)
- มือสองข้างจับแฮนด์ฝั่งที่อยู่กับพื้นให้มั่นคงที่สุด
- ออกแรงดันรถขึ้น โดยออกแรงจากขาหลังล่าง อย่าออกแรงจากแขน คงสภาพหลังตรงนะคะ ไม่งั้นหลังมีปัญหาไม่รู้ด้วยนะคะ เบาะๆ ก็แค่หลังยอกกล้ามเนื้ออักเสบ ร้ายที่สุดคือหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือแตกมาทักเส้นประสาทไขสันหลัง งานนี้ตัวใครตัวมันเน้อ
- เมื่อรถลอยขึ้นมาในระดับหนึ่งให้รีบก้าวขาขยับตัวเข้าหารถ
- ใช้สะโพกประคองรับน้ำหนักรถแล้วดันรถตั้งขึ้นสู่จุดบาลานซ์

หุหุ วิธีนี้ผู้หญิงตัวเล็กๆ ไม่ต้องคิดจะใช้เลยนะคะ ยากส์ ไม่ขึ้นหรอก

เทคนิคที่ 2 และ 3 นำมาจากเวปนี้ค่ะ www.dps.state.mn.us ในเวปนี้ยังมีเทคนิคเรื่องอื่นๆ อยู่ด้วยนะคะ

เทคนิคที่ 4: หันข้างเข้าหามอเตอร์ไซด์แล้วยก (อันนี้ไม่มีรูปให้ดูนะคะ)
- อยู่ในฝั่งที่รถล้ม
- หักแฮนด์ไปในทิศทางที่จะยกรถขึ้นให้สุด (ล้มขวาหักซ้ายสุด, ล้มซ้ายหักขวาสุด)
- หาจุดบาลานซ์ระหว่างยางทั้งสอ, เครื่องยนต์, ที่พักเท้า,
- ประคองรถขึ้นเล็กน้อยในจังหวะแรกเพียงแค่ให้ล้อสัมผัสพื้นทั้ง2ล้อ
- จัดท่านั่งพร้อมสำหรับยกรถ โดยนั่งยองแล้วสอดสะโพกเข้าไปด้านข้างรถ
- ออกแรงยืนในลักษณะค่อยๆ ดันรถให้ยกขึ้นโดยแรงที่ออกจะต้องเป็นแรงออกมาจากต้นขา
- เมื่อรถลอยขึ้นมาในระดับหนึ่งให้รีบก้าวขาขยับตัวเข้าหารถ
- ใช้สะโพกประคองรับน้ำหนักรถแล้วดันรถตั้งขึ้นสู่จุดบาลานซ์

ระวังอย่าดันแรงเกินจนล้มแปะไปอีกข้างซะหล่ะ ^^ ที่นี้รถก็ตั้งขึ้นแล้ว

ปล. พยายามยกรถให้ขึ้นภายในครั้งแรกนะคะ ไม่งั้นจะหมดแรงเอาซะก่อน