วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

การขับขี่รถ...เวลาออกทริปเป็นกลุ่มใหญ่และสัญญาณมือ

ในการออกทริปที่มีผู้ร่วมทริปเป็นจำนวนหนึ่ง ก่อนออกเดินทางควรต้องมีการสรุปรายละเดียดต่อผู้ร่วมเดินทางทั้งหมด เพื่อให้การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย

รายละเอียดที่ควรสรุปมีดังนี้,

1 รายละเอียดการเดินทาง
- จุดหมาย อาจจะฟังดูตลก แต่หลายครั้งที่เมื่อร่วมเดินทางในขบวนใหญ่ จะไปไหนยังไม่รู้ด้วยซ้ำ
- เส้นทางทีใช้ในการเดินทาง เพราะหนึ่งจุดหมาย อาจะไปได้หลายเส้นทาง จึงควรแจ้งผู้ร่วมเดินทางให้ชัดเจน ว่าในการเดินทางครั้งนี้จะไปเส้นทางไหนแน่ ไม่งั้นก็หลงๆ เลยๆ รอๆ กันอยู่นั่นแหละ
- จุดแวะแวะเติมน้ำมัน เพราะรถแต่ละรุ่นมีความจุของถังน้ำมัน และอัตราการกินน้ำมันที่ไม่เท่ากัน จึงควรพิจารณาว่าจะต้องวิ่งในระยะทางเท่าไหร่ ถึงจะต้องแวะเติมน้ำมัน เพราะถ้าต่างตนต่างเติม ก็จะทำให้เสียเวลาในการเดินทาง รถทุกคันควรจะต้องเติมน้ำมันให้เต็มถังทุกครั้งที่มีการแวะปั๊มน้ำมัน ถึงแม้ว่ารถของคุณจะกินน้ำมันน้อยกว่าคนอื่นและน้ำมันยังเหลืออีกตั้งครึ่งถังก้อตาม แต่เมื่อขี่ต่อไป น้ำมันของคุณจะหมดก่อนเพื่อนคนอื่น และจะทำให้ขบวนต้องหยุดเมื่อยังไม่ถึงระยะที่กำหนด เมื่อเติมน้ำมันเรียบร้อยแล้ว ควรเลื่อนรถออกจากตำแหน่งหัวจ่ายไปรวมกับผู้ที่เติมเรียบร้อยแล้ว เพื่อรอสัญญาณออกเดินทางจากผู้นำกลุ่ม
- การแบ่งกลุ่ม ควรจะต้องมี โดยอาจร่วมกับการจัดลำดับการขี่ในกลุ่มด้วย เพราะความสามาถในการขี่ของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนขี่ช้า บางคนขี่เร็ว บางคนรู้ทาง บางคนไม่รู้ทาง

โดยจะแบ่งเป็น
- Ride Leader หรือ ผู้นำกลุ่ม ควรจะเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในการขับขี่เป็นอย่างดี รู้จักและจดจำเส้นทางได้อย่างแม่นยำ รู้ระยะที่ปลอดภัยของขบวนในการเข้า-ออกทางคู่ขนานต่างๆ เป็นผู้กำหนดความเร็วในการเดินทางที่เหมาะสม ผู้นำกลุ่มจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจใน ตำแหน่งที่พักระหว่างทาง ปั๊มน้ำมัน สัญญาณเตือนเส้นทางข้างหน้า รูปแบบการขี่ ระยะห่างระหว่างรถ ซึ่งจะต้องจัดลำดับของผู้ตามได้อย่างถูกต้อง โดยมือใหม่ของกลุ่มควรที่จะอยู่ท้ายขบวนให้ใกล้กับ Tail Gunner (คนคุมท้าย) ให้มากที่สุด
ก่อนเริ่มต้นเดินทางทุกครั้ง เป็นหน้าที่ของผู้นำกลุ่มที่จะต้องทำความเข้าใจเรื่องความปลอดภัย (Safety Briefing) และรายละเอียดการขี่ให้กับสมาชิกในกลุ่มทราบ

- Tail Gunner หรือ คนคุมท้าย
เปรียบเสมือนตาด้านหลังของผู้นำกลุ่ม สามารถขี่ได้อย่างอิสระ ซึ่งจะเป็นคนคอยควบคุมลำดับการขี่ แจ้งเตือนเมื่อมีรถพยายามจะแซง แจ้งปัญหาอื่นๆที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการขี่ให้ผู้นำกลุ่มและสมาชิกคนอื่นๆทราบ อย่างการพยายามเข้าแทรกระหว่างขบวนของรถยนต์ หรือลมดูดที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีรถใหญ่แซงขึ้นไป เป็นผู้คอยกันรถหลังเมื่อขบวนพยายามจะเปลี่ยนเลน ในบางขณะที่ คนคุมท้าย จะต้องออกจากขบวนไป ผู้นำกลุ่มจะต้องมอบหมายให้นักขี่ที่มีประสบการณ์เข้ ามาทำหน้าที่แทน

- New Rider หรือ มือใหม่
จะหมายถึงสมาชิกที่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์กับการขี่ออกทริป เป็นกลุ่ม ตำแหน่งที่เหมาะสมควรจะอยู่ท้ายขบวนให้มากที่สุด


รอเพื่อนที่ตามหลัง หลายครั้งที่ทั้งขบวนจะต้องหยุดรอสมาชิกที่หายไป ดังนั้นสมาชิกทุกคนควรหมั่นสังเกตุเพื่อนที่ขี่ตามหลังจากกระจกหลังอยู่เสมอ หากเพื่อนเราหายไปจากขบวน พยายามแจ้งให้เพื่อนคันหน้าทราบ ชะลอหรือหยุดรอ โดยไม่ขวางทางรถคันอื่นบนถนนซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายได้

ในระหว่างการเดินทาง ถึงแม้ว่าจะมีรถ Service ติดไปด้วยก็ตาม แต่ทุกคนควรจะต้องมีชุด Service ชุดเล็กติดกระเป๋าหลังไปด้วย พร้อมกับโทรศัพท์มือถือเพื่อใช้ขอความช่วยเหลือ บางครั้งอาจจะให้วิธีการส่ง SMS ว่าจะนัดเจอกันที่ตำแหน่งไหนในกรณีที่ระหว่างขี่ไม่สามารถรับสายได้ หรือการให้เบอร์ติดต่อกลางของรถ Service หรือเพื่อนที่ไม่ได้ขี่เพื่อจะได้เป็นคนคอยประสานงาน ให้

ลำดับตำแหน่งการขี่ (Riding Formation) จะแบ่งเป็น 2 แบบคือ ขี่แบบ สลับฟันปลา 2 แถว และ ขี่เรียงหนึ่ง โดยผู้นำกลุ่มควรจะอยู่ชิดเส้นกลางเสมอ เพื่อที่จะมองเป็นเส้นทางข้างหน้าสำหรับการแซง และข้างหลังสำหรับรูปขบวน รวมไปถึงรถที่พยายามจะแซงได้อย่างชัดเจน ระยะห่างของรถคันที่สอง ควรจะทิ้งระยะที่ 1 วินาที และคันที่ 3 ซึ่งอยู่หลังผู้นำกลุ่มจะทิ้งระยะที่ 2 วินาทีจาก


สัญญาณมือในการขับขี่รถมอเตอร์ไซด์

จริงๆ มันก็มีระบบสากลอยู่ บ้านเราก็ใช้ใกล้เคียง แต่ก็อาจมีปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมได้

สตาร์ทเครื่อง

ยกมือขวาหรือซ้ายก็ได้ขึ้นเหนือศรีษะ ร่วมกับชูนิ้วชี้ขึ้น แล้วหมุนข้อมือเป็นวงกลม



เลี้ยวซ้าย กางแขนซ้ายออกทำมุม 90 องศากับร่างกาย แล้วโบกขึ้น-ลง

เลี้ยวขวาแบบไทย



เลี้ยวขวา กางแขนขวาออกทำมุม 90 องศากับร่างกาย แล้วโบกขึ้นลง หรือ ยกแขนซ้ายชี้ข้ามหมวกกันน็อคไป



การเร่งความเร็ว ยกมือซ้าย ชูนิ้วชี้ แล้วจิ้มพุ่งไปทิศทางด้านหน้ารถ



การละลอความเร็ว กางแขนกางแขนซ้ายออกทำมุม 45 องศากับร่างกาย แล้วโบกข้อมือขึ้น-ลง



การหยุดรถ ตั้งข้อศอกซ้าย 90 องศา พร้อมกับกำมือ
(แต่ในต่างประเทศ หมายถึงเลี้ยวขวานะจ๊ะ งั้นถ้าหยุดรถของต่างประเทศหล่ะ จะกางมือซ้าย 45 องศาแล้วเบมือมาทางด้านหลัง เหมือนในรูป)



สิ่งอันตรายทางซ้าย โดยชี้ไปที่วัตถุด้วยมือซ้ายของคุณที่มุม 45 องศา
หรือเป็นวิธีที่สากลมากยิ่งขึ้นและปลอดภัยในการทำเช่นนี้คือโดยการชี้ไปที่วัตถุที่กระทำผิดด้วยเท้าซ้าย



สิ่งอันตรายทางขวา ถ้าสิ่งอันตรายอยู่ด้านขวา ใช้เท้าขวากางออกชี้ไปที่วัตถุ จะเหมาะสมกว่ามือ
เพราะมือเราบิดคันเร่งอยู่ แต่ถ้าขี่ในความเร็วต่ำสะดวกจะใช้มือขวาชี้ก็ไม่ว่ากัน



ลืม...เปิดสัญญาณไฟกระพริบทิ้งไว้ กางแขนซ้ายออกมา แล้วกำมือสลับแบมือ



ตำรวจหรือตรวจจับความเร็วอยู่ข้างหน้า ยกมือขึ้นเหนือหมวกกันน็อค แล้วแตะหมวกกันน็อค



บอกให้คันหลังขี่ผ่านไป กางแขนออกข้างลำตัว แล้วโบกจากหลังไปหน้า



ให้ขี่เรียงหนึ่ง ยกมือซ้ายกำมือชูนิ้วชี้ขึ้น แล้ววางไว้บนหมวกกันน็อค



ให้ขี่สลับฟันปลา ยกมือซ้ายกำมือชูนิ้วขึ้น 2 นิ้ว เครื่องหมายสู้ตายค่ะ นั่นเอง หรือ ทำเครื่องหมาย I love you ก็ได้ แล้วแต่ถนัด



แวะเติมน้ำมัน ชี้มือไปที่ถึงน้ำมัน



แวะพัก ก็จะรวมกินอาหาร เข้าห้องน้ำ อื่นๆ อีกมากมายที่อยากจอดร ชี้มือไปที่ปาก

มาดูรูปภาพรวมๆ กันอีกครั้ง สัญญาณมือดังในภาพสามารถปรับใช้ได้ตามความถนัดและความเหมาะสม
เพียงแต่ต้องมีการแจ้งให้ผู้ร่วมทริปเข้าใจและรับรู้ทุกคนเสมอก่อนออกเดินทาง




ขอขอบคุณภาพประกอบจากหลายๆ แหล่งในเวปไซด์ต่างๆ นะคะ

ขี่รถ (BMW F800GS) ใกล้ๆ เขาใหญ่ - ชัยภูมิ ภาคแก้ตัวผาหำหด

วางแผนจะขึ้นเหนือยาวๆ แต่มาล้มเพราะฝนที่ยังไม่ซาและน้ำท่วมที่ยังไม่ลด จึงกลายเป็นทริปซ่อมความคาใจกับผาหัมหด ช่วงนี้ดูเหมือนจะแวะเวียนเขาใหญ่ถี่เหลือเกิน ออกจากบ้าน 10 โมง ไปยังจุดแวะรวมพลที่ปากช่อง โดยผ่านเขาใหญ่ฝั่งปราจีนเหมือนเคย



รวมตัวคาราวานได้ 6 คัน 3 kawasaki, 2 BMW, 1 Yamaha



มุ่งหน้าสู่อุทยานแห่งชาติไทรทอง ตามล่าหาผาหัมหด ^^





เมืื่อถึงทางเข้าอุทยาน เจ้าหน้าที่บอกว่า "ผมไม่รับประกันนะครับ ว่าจะขึ้นไปได้หรือเปล่า เพราะน้ำแรง" เราก็คิดว่าคงได้น่า ไอ้หยะ...พอลงไปสำรวจทาง เป็นลานหินที่ไม่เรียบ มีลักษณะเป็นขั้นๆ ขี่ลงไปรับรองว่ากลายร่างเป็นเรือลอยหายไปแน่ๆ



เซ็งอย่างแรง มาแก้ตัว ก็ยังแก้ไม่สำเร็จ ฝากไว้ก่อนเถอะ ^^



แบบครบๆ 7 คน 7 คัน



เปลี่ยนไปชิวๆ ที่ "น้ำตกไทรทอง" แทน ปรกติขี่รถลงมาตรงนี้ไม่ได้หรอก แต่วันนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ เลยขี่ลงมากัน เพราะขี้เกียจเดิน แลมีอีก 1 Suzuki ตามมาสมทบ



น้ำเยอะ แรง แต่ไม่แดงให้สยอง เหมือนคราวที่แล้ว พวกเราจึงเดินเล่นถ่ายรูป ชิวๆ ซึมซับบรรยากาศกันพักใหญ่ๆ



อากาศเย็นสบายมากๆ



ตั้งกล้องถ่ายรูปไว้กลางน้ำตกกันแบบไม่กลัว ขอให้ได้ภาพสวยๆ แค่นั้นเป็นพอ ^^



เห็นกล้องเป็นต้องสู้ จะกล้องใคร กี่ภาพ ไม่หวั่น จัดมา



ความซนของผู้หญิง 3 คนในทริป ถึงกับทำเอาหนุ่มๆ ปวดหัวไปตามๆ กัน



อีกซักช็อต...ก่อนจะถูกน้องโบ้หลอกไปกินข้าวเย็นในตัวเมืองชัยภูมิ ด้วยหนทางอันแสนไกลอีกเกือบ 100 กิโล

รุ่งขึ้น...ตัดสินใจขึ้นเขาใหญ่ จุดหมาย...ไปเที่ยวน้ำตกธารรัตนา



แวะจุดชมวิว...ใครก่อไฟรึเปล่านะ ?



ซารังแฮโย ... อิอิ


น้ำตกธารรัตนาเป็นน้ำตกแรกที่จะเจอก่อน เมื่อขึ้นมาจากฝั่งปราจีนบุรี ถ้ามุ่งมาจากฝั่งปากช่อง อาจจะเลยไปได้ เพราะไม่เห็นป้าย เดินจากถนนเข้าไปเพียงนิดเดียว แต่จริงๆ แล้วสามารถเดินตามลำธารลงไปได้เรื่อย เพราะเคยมาโรยตัว โดยจะไปสิ้นสุดที่อ่างเก็บน้ำในนครนายกเลยทีเดียว







เรานั่งชิวกันอยู่ตรงนี้เป็นชั่วโมงได้ ไม่มีคน...น้ำตกเป็นของเรา

ทริปสั้นๆ แต่รู้สึกดี...อีกแล้ว แยกย้ายกันที่ตรงนี้

จบไปอีกหนึ่งทริป ที่ไม่ทำให้ใจอิ่มกับการขี่รถซักที มีแต่จะอยากขี่เพิ่มอีกอยู่ตลอด ทำไงดีล่ะทีนี้ ^^



ขอบคุณที่ติดตามค่ะ

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

การเลือกยางให้เหมาะกับรถมอร์เตอร์ไซด์ของคุณ ^^

คิดจะเอามะพร้ามห้าวมาขายสวนเสียหน่อย เรื่องบางเรื่องคุณผู้ชายทั้งหลายอาจจะทราบอยู่แล้ว แต่เพราะตัวเองไม่รู้ เคยอ่านแต่ก็ลืม เลยอยากรวบรวมเก็บไว้บล็อคของตัวเองค่ะ หมายความว่าจิ๊กมาจากตรงนั้นทีตรงนี้ทีนั่นเอง

มอเตอร์ไซด์ไม่เหมือนรถยนต์ เป็นพาหนะที่อันตรายกว่าหลายเท่าตัว ดังนั้นการเช็ครถให้อยู่ในสภาพพร้อมก่อนการขับขี่ทุกครั้งเป็นเรื่องทำสำคัญยิ่ง เพราะจะสามารถลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุได้จริง พอดีวันนี้รถของตัวเองคิดว่าถึงเวลาที่ต้องน่าจะเปลี่ยนยางแล้ว จึงต้องหาข้อมูลกันซักหน่อย

การขาดความเข้าใจและการเอาใจใส่ จะนำไปสู่ปัญหา ต่างๆ เพราะยางเป็นตัวถ่ายทอดความต้องการของผู้ขับขี่และกำลังของเครื่องยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการเหยียบคันเร่งเพื่อนให้รถเคลื่อนไปเร็วขึ้นหรือเหยียบเบรค เพื่อให้รถช้าลง หรือควบคุมการเลี้ยงให้เป็นไปอย่างราบรื่น ทุกๆ ความต้องการของผู้ขับขี่จะถูกถ่ายทอดได้อย่างถูกต้องขึ้นอยู่กับการสัมผัสกัน ระหว่างยางกับพื้นผิวถนน

ยางมีหน้าที่สำคัญๆ อยู่ 4 ประการ ที่จะช่วยให้ขับรถได้อย่างปลอดภัย
1. รับน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุก
2. ลดแรงกระแทกและการสั่นสะเทือนจากพื้นถนน ลมในยางจะทำหน้าที่เป็นเหมือนสปริงช่วยลดแรงกระแทกในขณะขับขี่บนถนนขรุขระ
3. เป็นตัวกลางถ่ายทอดพลังงานการขับเคลื่อนและการหยุดรถลงสู่พื้นผิวถนน แรงเสียดทานระหว่างยางกับพื้นถนนทำให้รถสามารถเคลื่อนตัวหรือหยุดลงได้
4. ช่วยในการเปลี่ยนทิศทางในการขับขี่การหมุนพวงมาลัยทำให้ล้อหน้าหมุนและทำให้รถสามารถมุ่งไป ในทิศทางที่ต้องการ

เรามาดูวิธีการเลือกยางให้ถูกต้องเหมาะสมกับรถดีกว่า จริงๆ แล้วทั้งรถยนต์และมอต์เตอร์ไซด์ก็มีวิธีการดูที่เหมือนกัน

Q: ยางทำมาจากอะไร ?
A: ยางไม่ได้ประกอบไปด้วยเนื้อยางเพืยงอย่างเดียว แต่ประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลายอย่างของเหล็กกล้ากับผ้าใบ

Q: เมื่อไหร่จะถึงเวลาเปลี่ยนยาง ?
A: ยางรถยนต์ที่ได้รับการดูแลรับษาและใช้งานอย่างถูกต้อง จะสามารถใช้งานได้จนกระทั่งดอกยางสึกหรอเหลือต่ำสุด มีร่องลึกน้อยกว่า 1.5-2 มิลลิเมตร ซึ่งตัวเลข 1.5-2 มิลลิเมตรนี้ รวบรวมมาจากคำแนะนำของผู้ผลิตยางหลายยี่ห้อ จึงไม่สามารถสรุปเป็นตัวเลขตายตัวได้เป๊ะๆ

ในความเป็นจริง ก็ไม่ค่อยมีใครหยิบไม้บรรทัดมาวัดหรือหาอะไรมาแหย่เพื่อวัดความลึกของร่องยาง เพราะไม่สะดวก และจริงๆ แล้วก็ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการวัด ดังนั้นส่วนใหญ่จึงดูด้วยสายตา และประเมินเอาว่าดอกยางหมดหรือยัง สามารถสังเกตได้ง่ายๆ โดยมองขึ้นไปที่หน้ายาง จะพบสันนูนที่บริเวณร่องยาง เรียกว่า สะพานยาง

ดอกยาง ไม่ได้มีไว้ให้เกาะ แต่มีไว้รีดน้ำ ยางรถยนต์ทั่วไปจึงมีดอกหรือมีร่อง เพราะยางหน้าเรียบเกาะถนนดีบนถนนเรียบแห้งเท่านั้น แต่ถ้าถนนเปียกจะลื่นมาก เพราะหน้ายางที่แบนกว้าง จะไม่สามารถกดรีดน้ำออกจากหน้ายาง เพื่อให้หน้ายางสัมผัสกับพื้นตามปกติได้ น้ำเลยกลายเป็นชั้นฟิล์มคั่นอยู่ระหว่างยางกับผิวถนน ก็เลยลื่นหรือมีอาการเหิรน้ำ ดอกหรือร่องยางจึงลดอาการลื่นของยาง เมื่อต้องขับรถยนต์ลุยฝนหรือบนถนนลื่น โดยต้องยอมเสียหน้าสัมผัสพื้นถนนบางส่วนให้เป็นร่องยางแทน

การขับขี่ในสายฝนเมื่อยางสึกมากแล้วเป็นสิ่งที่อันตรายมาก น้ำฝนจะมีลักษณะเหมือนแผ่นฟิลม์กั้นระหว่างยางกับพื้นถนนทำให้ยางลอยเหนือพื้นถนน ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการบังคับรถและการหยุดรถ


หลายท่าน คงอยากทราบถึง ความหมายของ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร ที่อยู่บน ยาง นั้น มีความหมายอย่างไร ? แล้วจะมีผลต่อการนำไปใช้งานกับรถของเรา อย่างไร ?

สัญลักลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็น ตัวเลข หรือ ตัวอักษร ที่แสดงอยู่ตรงด้านข้างของยาง ( Side Wall ) ล้วนมีความหมายด้วยกันทั้งนั้น ลองดูรายละเอียดได้ตามข้อมูลนี้

ยางรถยนต์


 


 รหัสหรือตัวอักษร ที่อยู่บนยาง


ตัวอักษรบนยางรถยนต์



- ด้านหลังของตัวเลขบอกขนาดหรือบอกชื่อรุ่นยางอาจจะมีตัวหนังสือ F หรือ R อยู่ด้วย บางทีก็บอกกันตรงๆเลยว่า Front หรือ Rear บอกให้รู้ว่ายางเส้นนี้ใช้กับล้อหน้าหรือล้อหลัง พร้อมกับลูกศรบอกทิศทางการหมุน เวลาใส่ต้องใส่ให้ถูกทิศทางด้วย
- สัญลักษณ์ M/C หมายถึงยางสำหรับมอเตอร์ไซด์




ตารางแสดง ดัชนี การรับน้ำหนัก ของ ยางรถยนต์ ( Load Index ) ตามตัวเลข ที่แสดงไว้

ดัชนี ที่แสดงไว้ตรงด้านข้างของยาง คือประสิทธิภาพสูงสุดในการรับน้ำหนัก ในขณะที่รถวิ่งที่ความเร็วสูงสุด  



ตารางแสดง สัญลักษณ์ ของ ความเร็ว Speed Symbol  





การดู เดือนปี ที่ยางวงนี้ถูกผลิตขึ้นเมื่อไร ?


ตัวอักษรบนยางรถยนต์



ชนิดของยางที่ควรเลือกใช้
เลือกชนิดให้เหมาะสมกับรถ รถสปอร์ตคงไม่มีใครเอายางวิบากมาใส่ แต่พวกรถ Dual Purpose นี่สิ ยากอยู่สักหน่อย ถ้าทริปไหนลุยทางฝุ่นมากกว่า ก็ใส่ยางหนาม แต่ถ้าวิ่งทางดำมากกว่า ก็ใส่ยางทางเรียบ

ขนาดของยางที่ควรเลือกใช้
ควรเลือกใช้ยางขนาดเดิมที่ได้รับการประกอบมาจากโรงานผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซด์ เพราะผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซด์ ได้ออกแบบขนาดยางให้เหมาะสมกับขนาดของรถมอเตอร์ไซด์แต่ละรุ่น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและสมรรถนะที่เหมาะสม

หากมีความต้องการจะเปลี่ยนขนาดยาง ก็อาจจะเปลี่ยนได้บ้าง แต่ควรจะต้องคงไว้ซึ่งขนาดหน้ากว้างของยาง และขนาดวงล้อ เช่น ยางที่ติดรถมาเป็นขนาด 70/90-17 เราอาจจะสามารถเปลี่ยนเป็น 70/80-17 หรือ 70/100-17 ได้ แต่ไม่ควรเปลี่ยนวงล้อจาก 17 เป็นวงล้อขนาดอื่น และไม่ควรเปลี่ยนขนาดหน้ากว้างของยางจาก 70 ไปเป็นขนาดอื่น

ในรถมอเตอร์ไซด์ควรใช่ขนาดเดิมมากที่สุด สำหรับตัวเองใช้ BMW F800GS ล้อหน้า 90/90 21 หลัง 150/70 17 เพราะเป็นรถ Dual Purpose จึงอยากหายางที่วิ่งทางดินพอได้ แต่กลับหายากมาก เพราะ ยาง Pirelli รุ่นที่อยากได้ ไม่มีตรงไซด์ มีแต่ 160/60 17 อยากลอง และทั้งๆ ที่ถามจากร้านยางแล้ว เขาก็ว่าน่าใช้จะได้ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ค้นในกุ๊กกู๋ก็ไม่มีใครเคยลอง แม้แต่ในต่างประเทศ อย่างที่บอกว่ามอเตอร์ไซด์ สภาพรถที่ดีจะทำให้เกิดความปลอดภัยมากกว่า จึงไม่กล้าลอง

รถที่มียางใน
ทุกครั้งที่เปลี่ยนยางนอกควรเปลี่ยนยางในไปพร้อมกันด้วย เพราะถ้ายางในยืดไปนานแล้ว เมื่อนำมาใส่กับยางนอกใหม่ อาจเกิดรอยพับที่ยางใน และจะทำให้เกิดการเสียดสีกันทำให้รั่วซึมได้

ระยะห่างของล้อ
เมื่อใส่ล้อ / ยางรถมอเตอร์ไซค์ ต้องดูระยะห่างของล้อรถกับบังโคลนและส่วนอื่น ๆ ของรถมอเตอร์ไซค์ด้วย เพราะยางขนาดเบอร์เดียวกันแต่ต่างยี่ห้อกันหือต่างรุ่นกัน อาจมีขนาดความกว้างของแก้มยางหรือดอกยางต่างกันจึงควรระวังเพราะยางอาจเสียดสีกับส่วนอื่นด้วย ถ้าจะใช้ยางขนาดใหญ่ขึ้นอาจจะต้องเปลี่ยนล้อให้มีขอบกว้างขึ้นด้วย และเมื่อใส่ยางหรือขอบล้อใหญ่ขึ้นต้องลองหมุนดูให้มีระยะห่างจากส่วนอื่น ๆ พอสมควร

การเปลี่ยนยางเก่า
อย่าลืมว่า ยางหน้าต้องเข้าคู่กับยางหลัง ตามข้อกำหนดของผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์ เพื่อให้ขับขี่ได้ปลอดภัยและควบคุมรถได้ดี เมื่อจะเปลี่ยนยางหน้าควรดูดอกของล้อหลังด้วย ดอกยางใหม่ ๆ ของล้อหน้าอาจทำให้ควบคุมรถยากเมื่อใช้ร่วมกับยางหลังที่สึกไปมากแล้ว

การถ่วงล้อ
วัตถุยืดหยุ่นได้ เช่น ยางของรถมอเตอร์ไซค์นั้น ไม่สามารถผลิตให้ออกมาได้กลมอย่างสมดุลย์ ดังนั้นต้องถ่วงล้อ (ควรถ่วงล้อแบบล้อหมุน) หลังจากใส่ยางใหม่ทุกครั้งมีวิธีถ่วงล้ออยู่ 2 วิธี คือ แบบล้อนิ่งและแบบล้อหมุน ถ้าใช้ยางขอบกว้างเกิน 2.5 นิ้ว ข้อควรระวัง เพื่อป้องกันลมรั่วตามขอบล้อควรใช้ตะกั่วถ่วงชนิดที่ผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์แนะนำ เช่น ใช้ถ่วงที่เส้นลวดซี่ล้อ ใช้ลวดตะกั่วหรือใช้ตุ้มน้ำหนักแบบแปะด้วยแถบกาว (ไม่ควรใช้น้ำยาถ่วงล้อชนิดที่ใช้ฉีดเข้าไปในล้อรถมอเตอร์ไซค์) แทนที่จะใช้แบบเสียบที่ขอบล้อ เช่น ที่ใช้ถ่วงล้อรถยนต์

การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
ควรตั้งศูนย์ถ่วงล้อทุกครั้งที่ถอดล้อหลังหรือเมื่อปรับความตึงโซ่ ถ้าตั้งศูนย์ล้อไม่ถูกต้อง เมื่อหมุนล้อไปแต่ละรอบยางสึกเร็วขึ้น ทำให้อายุการใช้งานลดลง และบังคับรถหรือทรงตัวเข้าโค้งยากขึ้น

การรัน-อิน
เมื่อใส่ยางใหม่ ๆ ควรถนอมยางสักพัก โดยไม่ขับขี่ให้เร็วมากหรือเข้าโค้งแคบด้วยความเร็วสูง เมื่อใช้ยางไปสัก 160-250 กม. ยางจะปรับเข้ากับขอบล้อได้ดี จึงค่อยขับขี่ได้เต็มที่

การสลับยาง
ในรถยนต์ควรมีการสลับยางกับรถที่เราใช้ทุกๆ 5,000 กม. สำหรับยางธรรมดา และทุก 10,000 กม. สำหรับยางเรเดียล เพื่อป้องกันการสึกผิดปกติและยืดอายุการ (ในมอเตอร์ไซด์ไม่มีนะจ๊ะ)

ความดันลมยาง

  • เติมลมตามสเปคของรถที่กำหนด โดยศึกษาได้จากคู่มือของรถนั้นๆ  
  •  เวลาเติม ลมยาง ควรเติมตอน ยาง ไม่ร้อนเกินไป 
  •  หากต้องการวิ่งทางไกล นานๆ ควรเพิ่มลมยางอีกประมาณ 3 - 5 ปอนด์/ตร.นิ้ว 
  • หมั่นเช็ค ลมยาง เป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง


ถ้าสูบลมแข็งเกินไปรถจะเด้งง่ายขับขี่ไม่สบายและยางสัมผัสกับถนนน้อยลง แต่ถ้าลมยางอ่อนเกินไปจะขับขี่ได้ลำบากและรถยังสะบัดได้ง่าย นอกจากนี้ลมยางอ่อนเกินไปจะทำให้ยางสึกเร็ว เปลืองน้ำมันความเร็วก็ต่ำกว่าที่ควรและยังควบคุมได้ยาก

คำแนะนำทั่วไปก็คือเพิ่มแรงดันลมยางหลังขึ้น 0.2 บาร์ (3 ปอนด์/ตารางนิ้ว) เมื่อขับขี่ซ้อนกันสองคน เพิ่มแรงดันลมทั้งยางหลังและยางหน้าขึ้น 0.2 บาร์ (3 ปอนด์/ตารางนิ้ว) เมื่อจะขับขี่ทางไกลด้วยความเร็วสูงติดต่อกัน เช่น บนถนนซูเปอร์ไฮเวย์ ควรตรวจสอบแรงดันลมยางรถมอเตอร์ไซค์ทุกสัปดาห์

การเติมก๊าซไนโตรเจน
ข้อดีของก๊าซไนโตรเจน
1. การลดลงของความดันลมยางจะน้อยกว่าการเติมลมธรรมดา
2. การลดลงของความดันลมยางที่น้อยกว่าจะช่วยลดการสึกหรอของดอกยางและช่วยประหยัดน้ำมัน

การซ่อมยางเมื่อเกิดรอยรั่ว
รอยรั่วเพียงเล็กน้อยสามารถซ่อมได้โดยร้านซ่อมปะยางทั่วไป ถ้าเป็นรถมียางใน ถ้ารูไม่ใหญ่ก็ปะซ่อมได้เหมือนยางในจักรบาน แต่ถ้าเป็นยางที่ไม่ใช้ยางใน (Tubeless) สามารถอุดได้หลายแบบ เช่น อุดตัวหนอน ยิงใส้ไก่ แต่วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ปะสตีม เหมือนกับยางรถยนต์ แต่ไม่สามารถนำอุดได้ถ้า
- มีรูรั่วที่แก้มยาง
- ส่วนประกอบต่าง ๆ แยกออกจากกัน เช่น หน้ายาง, ชั้นผ้าใบ เป็นต้น
- ขนาดของรูรั่วใหญ่เกินกว่า ¼ นิ้ว
- รั่วแบบเกิดเป็นรอยแตก