วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552

การโอนรถ...

เพิ่งขายรถมอเตอร์ไซด์ไป เป็นการทำเอกสารเองครั้งแรก วุ่นวายพอสมควร
กับการหาข้อมูล ไหนก็หาไว้แล้วใช้ได้ทั้งกับรถยนต์และจักรยานยนต์เลยนะคะ
เลยนำมาเขียนไว้ค่ะ

    การโอนรถ ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานประกอบ
คำขอในแต่ละกรณีดังนี้
1. การโอนรถโดยการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
(ก) ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
(ข) หลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน สัญญาซื้อขาย
เป็นต้น
(ค) หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ ภาพถ่ายบัต
ประจำตัวและสำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน หรือหนังสือรับรองการจด
ทะเบียนนิติบุคคล
2. การโอนรถโดยการเช่าซื้อหรือซื้อขายโดยมีเงื่อนไข
(ก) ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
(ข) สำเนาสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไข
(ค) ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าซื้อหรือซื้อขายโดยมีเงื่อนไขทุกฉบับ
(ง) หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำ
ตัวและสำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
3. การโอนรถโดยการรับมรดกมีพินัยกรรม
(ก) ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
(ข) สำเนาหรือภาพถ่ายใบมรณบัตรของเจ้ามรดก
(ค) พินัยกรรมพร้อมภาพถ่ายพินัยกรรม
(ง) หลักฐานประจำตัวของผู้รับมรดกและของผู้จัดการมรดกตาม
พินัยกรรม (ถ้ามี) ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวและสำเนาหรือภาพถ่าย
ทะเบียนบ้าน หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

เมื่อได้รับคำขอ และตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว ให้
ดำเนินการดังนี้
(1) ตรวจสอบรถเว้นแต่การโอนตามข้อ 2.(โดยการเช่าซื้อหรือซื้อขาย
โดยมีเงื่อนไข) ไม่ต้องตรวจสอบ
(2) เจ้าหน้าที่ทะเบียนรถตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอ และผลการ
ผ่านการตรวจสอบรถ และการเสียอากรตามประมวลรัษฎากร เมื่อเห็นว่าถูก
ต้องแล้วจัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอและค่าธรรมเนียมการโอนรถ
(3) บันทึกรายการโอนรถในทะเบียนรถและใบคู่มือจดทะเบียนรถ
เสนอนายทะเบียนลงนาม
(4) จ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถ

ในการโอนรถผู้โอนและผู้รับโอนต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน
นับแต่วันโอน ในกรณีไม่แจ้งภายในกำหนด ให้ผู้ยื่นเสียค่าปรับตามอัตราที่
กำหนดไว้ก่อน


จริงแล้วยังมีการโอนในอีกหลายกรณีเช่น รถที่ยกเว้นภาษีนำเข้า รถราชการ
อะไรแบบนี้ รายละเอียดการโอนในแบบอื่นๆ

     เล่าถึงกรณีรถตัวเองที่ขายไป แบบละเอียดๆเลย
นะคะ เป็นการซื้อขายแบบเบ็ดเสร็จก็คือขายขาดขายไปเลย ก็จะมีรายระ
เอียดเหมือนในแบบที่ 1 เอกสารประกอบด้วย
1 แบบฟอร์มคำขอโอนและรับโอน 1 ชุด
2 เล่มทะเบียน
3 สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ ชื่อเดียวกับในเล่ม
4 สำเนาบัตรประชาชนผู้ซื้อ
5 สำเนาทะเบียนบ้านผู้ซื้อ
6 สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขาย (ไม่เข้าใจจริงๆ ว่าทำไมต้องใช้)
ถ้าไปโอนด้วยกันที่กรมการขนส่งทางบอกทั้งสองฝ่ายก็มีเอกสารแค่นี้
แต่ถ้าเป็นการโอนลอย ก็คือการมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปยื่นเรื่องให้โดยที่เรา
ไม่ได้ไปเอง
เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติมในกรณีโอนลอย
7 หนังสือมอบอำนาจ แล้วแต่ว่าใครเป็นคนไปทำ จะเป็นบุคคลที่สามเลยก็
ได้
8 กรณีรถยนต์ ต้องมีหนังสือยินยอมให้จอดรถ จากเจ้าบ้านในสำเนาทะเบียน
บ้านนั้นเพิ่มอีกหนึ่งอย่างด้วยค่ะ

- หลักการกรอกรายละเอียด ต้องชัดเจน ห้ามมีรอยแก้ไข
- ลายเซ็นต์ในเล่มทะเบียนต้องตรงกันกับลายเซ็นต์ผู้ขาย
- ในช่องพยานต้องเซ็นต์ให้ครบทั้งหมดทุกจุด
- ทริกเล็กน้อย ราคาซื้อ-ขายยิ่ง จะมีผลต่อค่าธรรมเนียมในการโอน ยิ่งสูงก็
จะสูงตามไปด้วย ตอนกรอกของตัวเองก็เลยกรอกต่ำกว่าราคาขายจริง


ถามจากผู้ที่ซื้อรถ ตัวเองได้ให้เอกสาารเค้าไปโอนเองทั้งหมด หรือที่เรียกว่า
การโอนลอยนั่นเอง ค่าธรรมเนียมในการโอนรถคันนี้ 530 บาทค่ะ ก็ใกล้เคียงกับที่กะเอาไว้

ในวันที่ทำเรื่องโอนต้องนำรถไปที่กรมขนส่งทางบกด้วยนะคะ ไปถึงก็ยื่น
เรื่อง นำรถเข้าตรวจว่าเลขเครื่อง เลขตัวถังถูกต้องตรงกับเล่มที่นำไปโอน
หรือไม่ รอเล่ม ใช้เวลาประมาณสองชั่วโมงก็เสร็จเรียบร้อยค่ะ

Download แบบฟอร์มต่างที่เกี่ยวข้องที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น